วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554

เกษตรแบบยั่งยืน

การดำเนินงานด้านการพัฒนาเกษตรแบบยั่งยืน มีรูปแบบการผลิต 5 รูปแบบ ดังนี้
เกษตรทฤษฎีใหม่
รูปแบบการเกษตร ที่มาจากแนวคิดหรือทฤษฎีที่เน้นการจัดการทรัพยากรน้ำในไร่นา เพื่อสร้างผลผลิตอาหารที่เพียงพอ
เกษตรผสมผสาน
รูปแบบการเกษตร ที่มีการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์หลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน กิจกรรมการผลิตแต่ละชนิดต้องสามารถเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วนเกษตร
รูปแบบการเกษตร ที่มีระบบการใช้ที่ดินเพื่อดำรงกิจกรรมการเกษตรต่างๆ ระหว่างต้นไม้ในพื้นที่ป่าและระหว่างต้นไม้ที่ปลูกขึ้น
เกษตรธรรมชาติ รูปแบบการเกษตรที่สร้างผลผลิตพืชและสัตว์ให้สอดคล้องกับระบบนิเวศน์ของพื้นที่ โดยมีการแทรกแซงการใช้ปัจจัยและเทคโนโลยีต่างๆ ให้น้อยที่สุด
เกษตรอินทรีย์
รูปแบบการเกษตรที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเพื่อความปลอดภัยในสุขภาพ การใช้มูลสัตว์ ซากพืชซากสัตว์ การปลูกพืชหมุนเวียน เป็นระบบเกษตร "4ไม่"
-ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในการปรับปรุงดิน
-ไม่ใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดสัตรูพืช
-ไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช
-ไม่ใช้ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์
ส่วนที่เหลือ

อ่านต่อ

การควบคุมศัตรูพืช(2)

การป้องกันและกำจัดวัชพืช
1. ใช้วิธีการถอน ใช้จอบถาง ใช้วิธีการไถพรวน
2. ใช้ วัสดุคลุมดินซึ่งเป็นการปกคลุมผิวดินช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ และเป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดินอีกด้วย โดยส่วนใหญ่มักใช้วัสดุตามธรรมชาติ ได้แก่ เศษซากพืชหรือวัสดุเหลือใช้ในการเกษตร เช่น ฟางข้าว ตอซังพืช หญ้าแห้ง ใบไม้แห้ง ต้นถั่ว ขุยมะพร้าว กากอ้อย แกลบ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพลาสติกที่ผลิตขึ้น สำหรับการคลุมดินโดยเฉพาะซึ่งสามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน
3. ปลุกพืชคลุมดิน เช่น การปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินในสวนไม้ผล การปลูกพืชต่าง ๆ เช่น ผัก ไม้ดอก สมุนไพร แซมในสวนไม้ผล เป็นต้น
การป้องกันและกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช
1. การป้องกันและกำจัดโดยวิธีกล (mechanical control) เช่น การใช้มือจับแมลงมาทำลาย การใช้มุ้งตาข่าย การใช้กับดักแสงไฟ การใช้กับดักกาวเหนียว เป็นต้น
2. การป้องกันและกำจัดโดยวิธีเขตกรรม (cultural control) เช่น
 1) การดูแลรักษาแปลงให้สะอาด

2) การหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูกพืช

3) การเก็บเกี่ยวพืชเพื่อหลีกเลี่ยงการทำลายของโรคและแมลง

4) การใช้ระบบการปลูกพืช เช่น การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชแซม

5) การจัดการให้น้ำ

6) การใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับความต้องการของพืชเพื่อลดการทำลายของโรคและแมลง

3. การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธิ (biological control) คือการใช้ประโยชน์จากแมลงศัตรูธรรมชาติ คือ

1) ตัวเบียน (parasite) ส่วนใหญ่หมายถึง แมลงเบียน (parasitic insects) ที่อาศัยแมลงศัตรูพืชเพื่อการดำรงชีวิตและการสืบพันธุ์ซึ่งทำให้แมลงศัตรู พืชตายในระหว่างการเจริญเติบโต

2) ตัว ห้ำ ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตโดยการกินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหารเพื่อการเจริญเติบโต จนครบวงจรชีวิต ตัวห้ำพวกนี้ได้แก่ สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังได้แก่ สัตว์ปีก เช่น นก สัตว์เลื้อยคลาย เช่น งู กิ้งก่าสัตว์ ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ ตัวห้ำส่วนใหญ่ที่มีความสำคัญในการควบคุมแมลงและไรศัตรูพืชได้แก่สัตว์ไม่มี กระดูกสันหลัง เช่น แมงมุม ไรตัวห้ำ และตัวห้ำส่วนใหญ่ได้แก่แมลงห้ำ (predatory insects) ซึ่งมีมากชนิดและมีการขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว

3) เชื้อโรค ส่วนใหญ่หมายถึงจุลินทรีย์ที่ทำให้แมลงศัตรูพืชเป็นโรคตาย เช่น เชื้อไวรัสแบททีเรีย รา โปรโตซัว ไส้เดือนฝอยทำลายแมลงศัตรูพืช

4. การป้องกันโดยใช้พันธุ์พืชต้านทาน (host plant resistance)

5. การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยใช้สมุนไพรต่าง ๆ
ที่มาจาก http://rivermool.exteen.com/

อ่านต่อ

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

การควบคุมศัตรูพืช

1. ก่อนปลูกพืช
1.1 ในกรณีที่ปลูกพืชด้วยเมล็ดพันธุ์ ควรใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากศัตรูพืช เช่น โรค แมลงและวัชพืช โดยกรรมวิธีดังนี้
- แช่เมล็ดในน้ำร้อนอุณหภูมิ 50 - 55 ํC นาน 10-30 นาที (ขึ้นอยู่กับชนิดของเมล็ดพันธุ์เพื่อกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิดที่ติด มากับเมล็ด
- คลุกเมล็ดด้วยเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอม่า, เชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis (Bs) ขึ้นอยู่กับชนิดเมล็ดพืชและเชื้อสาเหตุของโรค
- ใช้พันธุ์ต้านทานโรค แมลงและ/หรือวัชพืช
1.2 การเตรียมแปลงเพาะกล้า
- อบดินด้วยไอน้ำ
- คลุกดินด้วยเชื้อราปฏิปักษ์ เพื่อควบคุมเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคในระยะต้นกล้า
1.3 การเตรียมแปลงปลูก
 - ไถพรวนและตากดิน 1-2 สัปดาห์ ในเมล็ดวัชพืชงอกแล้วไถกลบซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

- ใช้พลาสติกใสที่ไม่ย่อยสลายคลุมแปลง ปลูกเพื่อกำจัดศัตรูพืชในดินโดยใช้แสงแดด

- ใช้ปูนโดโลไมท์หรือปูนขาวที่ได้จากธรรมชาติเพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินให้ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค

- ใช้น้ำขังท่วมแปลงเพื่อควบคุมโรคและแมลงที่อาศัยอยู่ในดิน

- ตากดินให้แห้งเพื่อกำจัดแมลงในดิน

- ใส่เชื้อราปฏิปักษ์ เช่น ไตรโคเดอม่า ลงในดินสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อราบางชนิด

2. ระยะที่พืชกำลังเจริญเติบโต

2.1 การควบคุมโรค เมื่อมีการระบาดของโรคให้ปฏิบัติดังนี้

- โรยเชื้อราปฏิปักษ์รอบโคนต้น

- เก็บชิ้นส่วนของพืชที่เป็นโรคออกจากแปลงปลูกและนำไปเผาทำลาย

- ใช้เชื้อแบคทีเรีย Bs พ่นหรือทาแผลที่ต้นพืช

สารที่อนุญาตให้ใช้ควบคุมโรค ได้แก่

- กำมะถัน

- บอร์โดมิกซเจอร์

- พืชสมุนไพรและสารสกัดจากสมุนไพร

- คอปเปอร์ซัลเฟต

- คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์

- คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ง

2.2 การควบคุมแมลง

- สำรวจแมลงและศัตรูพืชอื่น ๆ ในแปลงปลูก

- หากพบแมลงศัตรูพืชให้ปฏิบัติดังนี้

*กรณีแมลงศัตรูพืชมีจำนวนน้อย ให้ใช้วิธีการควบคุมทางชีวภาพ ได้แก่

- พืชหรือสารสกัดจากพืชสมุนพี เช่น ดาวเรือง ว่านน้ำ พริก สาบเสือ ฯลฯ

- สารโรตีโนนจากหางไหลแดง

- สารสกัดจากสะเดา

- สารไพเรทรินจากธรรมชาติ

- ใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เช่น

- เชื้อไวรัส NPV

- เชื้อแบคทีเรีย Bt

- เชื้อรา เช่น เชื้อราเมตาไลเซี่ยม

- ใช้ตัวห้ำตัวเบียน

- ใช้น้ำสบู่ หรือ น้ำ

- ใช้สารทำหมันแมลง

- ใช้กับดักกาวเหนียว กรณีแมลงศัตรูพืชระบาด

- ใช้กับดักกาวเหนียว/กับดักแสงไฟ เพื่อลดปริมาณแมลง

- ใช้ white oil/ mineral oil ที่ได้จากธรรมชาติ

2.3 การควบคุมวัชพืช

- ควรกำจัดวัชพืชในระยะก่อนออกดอกหรือติดเมล็ด เพื่อลดปริมาณเมล็ดวัชพืชที่สะสมในดินฤดูต่อไป

- ใช้วิธีทางกายภาพ เช่น การถอน การขุด การตัด ฯลฯ

- ใช้น้ำร้อน/ไอน้ำร้อน

- ปลูกพืชตระกุลถั่วคลุมดิน

- คลุมดินด้วยพลาสติกทึบแสงที่ไม่ย่อยสลาย

- ใช้สารสกัดจากพืช

- ใช้ชีววิธี เช่น แมลง สัตว์ หรือ จุลินทรีย์


หมายเหตุ

1. จุลชีพที่ใช้ในการควบคุมศัตรูพืชทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ต้องไม่ผ่านการตัดต่อทางพันธุกรรม

2. สารอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว หากจะนำมาใช้ในการผลิตพืชอินทรีย์ ต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการตรวจสอบและออกใบรับรองก่อน


การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว

- สารที่ใช้ในการดำเนินการหลังการเก็บเกี่ยวต้องเป็นสารจากธรรมชาติ ยกเว้นสารเคมีสังเคราะห์ที่อนุญาตให้ใช้ได้ตามมาตรฐานนี้

- มีแผนการจัดการหรือการบันทึกข้อมูลโรงเก็บ (ware house) ระบุการปฎิบัติ การควบคุมให้ถูกสุขลักษณะ ดังนี้

- ลักษณะของโรงเก็บสะอาดมีอากาศถ่ายเทสะดวก

- มีการป้องกัน นก หนู แมลง ปนเปื้อน

- มีการจัดการระเบียบภายในเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน

- มีการจัดระเบียบและชี้บ่งผลิตผลแต่ละชนิด ห้ามวางผลิตผลบนพื้น

- มีอุปกรณ์ที่จำเป็น/เหมาะสมในการเก็บรักษาผลิตผลแต่ละชนิด

- เลือกใช้เครื่องมือ/วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการบรรจุหีบห่อที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม


ข้อมูลโดย : โครงการเกษตรอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร

อ่านต่อ

หลักการจัดการและการปรับปรุงบำรุงดิน

การจัดการดินในทุกขั้นตอนต้องมุ้งเน้นการใช้สารอินทรีย์และวัสดุธรรมชาติ เป็นหลัก โดยสิ่งเหล่านี้ต้องปราศจากการปนเปื้อนของวัสดุต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ ในกรณี ที่จำเป็นต้องใช้สารที่ไม่แน่ใจว่าเป็นสารต้องห้ามหรือไม่ ให้ตรวจสอบในบัญชีรายชื่อสารที่อนุญาตให้ใช้และไม่อนุญาตให้ใช้และข้อกำจัด ของสารนั้น ๆ เสียก่อน
หลักปฏิบัติในการจัดการดิน
* เลือกพื้นที่ปลูก ควรเลือกพื้นที่ที่มี ความอุดมสมบูรณ์สูง เช่น พื้นที่ที่เปิดใหม่ หากจำเป็นต้องใช้พื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ต้องมีการจัดการธาตุอาหารพืชและ
ปรับปรุงบำรุงดินมากกว่าพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง
* ดินที่เป็นกรดจัด ให้ใส่หินปูนกดปรับความเป็นกรดของดินก่อน (ถ้าต้องการเพิ่มธาตุแมกนีเซียมด้วยให้ใส่ปูนโดโลไมท์)
* ควร ปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น โสน ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ ฯลฯ และไถกลบเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน โดยเลือกชนิดของพืชตามความเหมาะสมของพื้นที่ เช่น โสน ใช้ได้ดี
ในสภาพนา ถั่วพุ่มใช้ได้ดีในสภาพไร่ เป็นต้น
* ปลูกพืชหมุนเวียน ใช้พืชตระกูลถั่วร่วมเป็นพืชหมุนเวียน
* ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษซากพืช เพื่อเป็นแหล่งธาตุอาหารพืชและปรับปรุงโครงสร้างของดิน
* กรณีที่ดินขาดโพแทสเซียม ให้ใช้ปุ๋ยมูลค้างคาว เกลือ แทสเซียมธรรมชาติ และขี้เถ้าถ่าน
* กรณีที่ดินขาดฟอสฟอรัส ให้ใช้ปุ๋ยหินหอสเฟต
* ถ้า การใส่ปุ๋ยที่กำหนดไว้ไม่สามารถให้ธาตุอาหารได้เพียงพอกับความต้องการของพืช อาจจะใช้ธาตุอาหารเสริมที่มีการพิสูจน์เป็นหลักฐานทางเอกสารไว้แล้วได้

ข้อมูลโดย : โครงการเกษตรอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร

อ่านต่อ

การหมุนเวียนธาตุอาหารในดิน

บทความนี้เกี่ยวกับการหมุนเวียนธาตุอาหารในดิน และการรักษาธาตุอาหารในดิน
ใน ป่าธรรมชาติ ต้นไม้พืชพรรณได้รับธาตุอาหารจากดินและอากาศ โดยธาตุอาหารในดินจะถูกดูดซึมผ่านทางราก ส่วนธาตุอาหารในอากาศพืชจะได้รับจากการหายใจทางใบ เมื่อพืชได้รับแสงก็จะสังเคราะห์ธาตุอาหารเหล่านี้มาเป็นสารอาหารต่างๆ ซึ่งทำให้พืชเจริญเติบโต และเพิ่มชีวมวล (biomass) ของพืชเอง ไม่ว่าจะเป็นลำต้นที่ขยายใหญ่ขึ้น กิ่งก้านและใบเพิ่มขึ้น ฯลฯ เมื่อใบหรือกิ่งแก่ลงก็จะร่วงหล่นลงดิน หรือบางส่วนของพืชอาจถูกสัตว์หรือแมลงกัดแทะ และเมื่อสัตว์ถ่ายมูลออกมา มูลเหล่านั้นก็กลับคืนลงสู่ดิน ทั้งชีวมวลจากพืชและมูลสัตว์ที่กินพืช (ที่เราเรียก “อินทรีย์วัตถุ”)
เมื่อกลับคืนสู่ดินก็จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ และปลดปล่อยธาตุอาหารออก มา ซึ่งรากพืชจะดูดซึมกลับไปเป็นธาตุอาหารอีกครั้งหนึ่ง วัฏจักรหรือวงจรธาตุอาหารที่หมุนเวียนไปอย่างสมดุลนี้เอง ที่ทำให้พืชในป่าสามารถเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืนเป็นเวลาหลายร้อยหลาย พันปี เพราะธาตุอาหารทั้งหมดหมุนเวียนอยู่ในระบบนิเวศนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง
แน่นอน ว่าการทำเกษตรไม่ว่าจะ เพื่อยังชีพหรือเพื่อจำหน่ายก็ตาม ธาตุอาหารส่วนหนึ่งย่อมสูญหายไปจากระบบนิเวศการเกษตรจากการบริโภคผลผลิต ดังนั้นเกษตรกรจำเป็นต้องหาวิธีการที่เหมาะสมในการหาธาตุอาหารจากภายนอก ฟาร์มมาชดเชยส่วนที่สูญเสียไป แต่ปัญหาการสูญเสียธาตุอาหารในฟาร์มที่สำคัญกว่าก็คือ การสูญเสียธาตุอาหารในดินที่เกิดขึ้นจากการชะล้างหน้าดิน, การกัดเซาะของลม ฝน และน้ำ, ธาตุอาหารที่ไหลลงดินลึกชั้นล่าง รวมถึงที่สูญเสียไปทางอากาศ ดังนั้นเกษตรอินทรีย์จึงให้ความสำคัญกับการป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารที่ เกิดจากระบบการผลิต โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการพึ่งพาแหล่งธาตุอาหารจากภายนอกฟาร์มที่มากเกินไป
แนวทาง การหมุนเวียนธาตุอาหารในฟาร์มอาศัยหลักการทางธรรมชาติ ด้วยการใช้ธาตุอาหารพืชที่อยู่ในรูปของอินทรีย์วัตถุที่สามารถย่อยสลายได้ โดยจุลินทรีย์ ซึ่งจะทำให้วงจรธาตุอาหารหมุนเวียนได้อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างของการหมุนเวียนธาตุอาหารในแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญ คือ การใช้ปุ๋ยหมัก, การคลุมดินด้วยอินทรีย์วัตถุ, การปลูกพืชเป็นปุ๋ยพืชสด และการปลูกพืชหมุนเวียน เป็นต้น

ที่มาข้อมูล : มูลนิธิสายใยแผ่นดิน

อ่านต่อ

การทำปุ๋ยหมัก

เพื่อลดต้นทุนในการผลิด รวมทั้งเป็นการบำรุงดินให้สมบูรณ์ ปุ๋ยหมักจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำขึ้นใช้เองซึ่งวิธีการทำก็ไม่ได้ยุ่งยาก และส่วนผสมต่างๆก็ใช้วัสดุที่เหลือใช้จากการเกษตร ซึ่งมีขั้นตอนดังน้
ส่วนผสม
รำหยาบ
พืชสด
มูลสัตว์
ขี้เถ้าแกลบ

เพื่อให้เข้าใจการทำยิ่งขึ้นเชิญกดดเพื่อชมวิดีโอครับ

อ่านต่อ

ประโยชน์และอัตราส่วนการใช้น้ำหมักชีวภาพ

การนำน้ำหมักชีวภาพหรือEM มาใช้ประโยชน์สามารถแยกออกตามวัตถุประสงค์ต่างๆดังนี้
การใช้เพื่อการเกษตร 
1. ช่วยปรับสภาพของดินให้ดีขึ้น ทำให้ดินโปร่ง ช่วยในการย่อยสลายอินทรีย์สารได้เร็วขึ้น และลดการเสื่อมสภาพของดิน เป็นปุ๋ยธรรมชาติได้ดีกว่าปุ๋ยเคมี เพราะจุลินทรีย์จากการทำน้ำหมักชีวภาพจะลงสู่ดิน ทำให้มีการย่อยอินทรีย์สารในดินได้ดีขึ้น พืชจึงได้รับสารอาหารและออกซิเจนได้มากขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเกษตรได้ดี และเป็นเกษตรธรรมชาติที่ยั่งยืนเมื่อเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมี

2. ช่วยป้องกันแมลงและโรคระบาดที่เป็นศัตรูพืช พืชที่นิยมนำมาหมักเพื่อเป็นสารขับไล่แมลงศัตรูพืช เช่น สะเดา สาบเสือ ขิง ข่า หางไหล ตะไคร้หอม บอระเพ็ด เป็นต้น โดยการผสมน้ำหมักที่ได้จากพืชต่าง ๆ กับน้ำในอัตรา น้ำหมัก 1 ส่วน ต่อน้ำ 500 ส่วน ฉีดพ่นต้นพืชให้เปียกทั่ว ควรเริ่มใช้หลังต้นพืชงอก ก่อนที่แมลงจะมารบกวน และควรทำในตอนเช้าหรือหลังจากฝนตกหนัก และให้อย่างสม่ำเสมอ นอกจากมีผลในการป้องกันแมลงและโรคระบาดที่เป็นศัตรูพืชแล้ว ยังช่วยปรับสภาพให้พืชมีภูมิคุ้มกันดีขึ้นด้วย
3. ช่วยสร้างฮอร์โมนพืชและเร่งการเจริญเติบโตของพืช โดยส่วนประกอบที่นิยมนำมาใช้ เช่น
น้ำมะพร้าวที่สามารถหาได้จากการคั้นกะทิ หรือเปลือกสับปะรดจากร้านขายผลไม้ สำหรับฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของผลนั้นต้องฉีดพ่นให้ทั่วผล มิเช่นนั้นจะทำให้ด้านที่ได้รับน้ำหมักฮอร์โมนจะโตมากกว่าปกติ ทำให้ผลของพืชที่พ่นน้ำหมักฮอร์โมนจะโตมากกว่าปกติ ทำให้ผลของพืชที่พ่นน้ำหมักฮอร์โมนมีรูปร่างผิดปกติ
4. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดชิ้นส่วนพืชที่เหลือทิ้งทางการเกษตร และ ยังสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อีกด้วย โดยการแปรรูปเป็นน้ำหมักชีวภาพเพื่อการเกษตร ปศุสัตว์ สิ่งแวดล้อม และการบริโภค
5. ใช้ป้องกันน้ำเน่าเสียในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร ต่อน้ำ 10 ลูกบาศก์เมตร ใส่บ่อทุก 7 วัน แล้วแต่สภาพน้ำและความหนาแน่นของสัตว์เลี้ยง และช่วยลดการถ่ายน้ำบ่อย ๆ หรืออาจจะไม่ต้องถ่ายน้ำเลยจนกว่าจะโตเต็มที่
การใช้บำรุงน้ำ
เทน้ำหมักลงในน้ำ จะช่วยทำให้สามารถปลดปล่อยออกซิเจนออกมา ทำให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้น
ประโยชน์ต่อปศุสัตว์
1. การเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร สัตว์ ปีกและสุกรเป็นสัตว์กระเพาะเดี่ยว ไม่สามารถย่อยหญ้าได้ดีเท่าสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว ควาย การใช้น้ำหมักชีวภาพเจือจางให้สัตว์ปีกและสุกรกินในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 1,000 ส่วน จะทำให้สัตว์ย่อยหญ้าสดหรือพืชสดได้ดีขึ้น เป็นการประหยัดอาหารเลี้ยงสัตว์ได้ถึง 30%
2. การเพิ่มความต้านทานโรคแก่สัตว์ การใช้น้ำหมักชีวภาพแบบเจือจางแก่สัตว์ทั้งทางน้ำหรือาหารในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วนอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้สัตว์แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคดีขึ้น อุจจาระไม่เหม็น ลูกดก ไข่ดก ช่วยลดความเครียดจากการเปลี่ยนอาหารระยะต่าง ๆ ลดความเครียดจากการขนย้ายสัตว์และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้ดี
3. การกำจัดกลิ่นเหม็นในคอกสัตว์ ในการเลี้ยงสัตว์ มูลสัตว์นับเป็นปัญหาสำคัญต่อสภาพแวดล้อมในฟาร์มและบริเวณใกล้เคียง การผสมน้ำหมักชีวภาพในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 1,000 ส่วนให้สัตว์กินทุกวัน จะช่วยลดกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์ได้มากจนเกือบไม่มีเลย และคอกสัตว์โดยเฉพาะสุกรและโคนมที่ได้รับการฉีดล้างด้วยน้ำหมักชีวภาพที่ เจือจางด้วยอัตราส่วน 1 ส่วนต่อน้ำ 100 - 300 ส่วนเป็นประจำ จะไม่มีกลิ่นเหม็น สำหรับน้ำที่ได้จากการล้างคอก ถ้ากำจัดอย่างถูกวิธีจะสามารถนำไปรดน้ำต้นไม้หรือปล่อยลงแม่น้ำลำคลองโดยไม่ เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม
4. การลดปัญหาเรื่องแมลงวันและยุง บริเวณคอกสัตว์ที่ได้รับการฉีดพ่นด้วยน้ำหมักชีวภาพในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 300 ส่วนเป็นประจำ จะลดปัญหาเรื่องแมลงวันลงจนเกือบไม่มีเลย รวมทั้งยุงจะลดน้อยลงด้วย
ประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน
-ใช้ราดลงในโถส้วม สัปดาห์ละ 1-2 แก้ว จะช่วยดับกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ ห้องส้วม โถส้วม และทำให้ส้วมไม่เต็มเร็ว
-ใช้เทลงท่อระบายน้ำทิ้งเป็นประจำ จะช่วยขจัดคราบไขมันที่อุดตันท่อน้ำได้ดี
-ใช้เทลงในท่อระบายน้ำเป็นประจำ จะช่วยลดกลื่นเหม็นจากน้ำเน่า
-ใช้ลดกลิ่นเหม็นจากกองขยะ โดยผสมน้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 10 c.c.ต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร ฉีดพ่นไปกองขยะเป็นประจำ

อ่านต่อ

การทำน้ำหมักชีวภาพ หรือ EM

เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำเกษตรอินทรีย์ที่ได้ผล จำเป็นอย่ายิ่งที่ต้องทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้ ซึ่งวัตถุดิบและขั้นตอนการทำมีดังนี้
ส่วนผสม
1.พืช ผัก ผลไม้สุก 3 กิโลกรัม
2. กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม
วิธีทำ
ผสมส่วนประกอบทั้งหมด คลุกเคล้าให้เข้ากันเบาๆ ใส่ถังปิดฝาให้สนิทตั้งไว้ในที่ร่ม หมักนานประมาณ
15 วันแล้วเปิดฝาเติมน้ำลงไป 10 ลิตร ใช้ไม้คนให้ทั่วแล้วปิดฝาไว้ดังเดิมหมักต่ออีก 30วัน จึงกรองเอาน้ำหมักที่ได้ไปใช้จะทำให้ได้น้ำหมักที่มีประสิทธิภาพ

การขยายเชื้อน้ำหมัก

ใช้ น้ำหมัก 1 ลิตร กากน้ำตาล 1 ลิตร น้ำเปล่า 10 ลิตร ผสมกันใส่ถังปิดฝาหมักตั้งเก็บในร่ม 15-60วัน จากนั้นจึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้

อ่านต่อ

น้ำหมักชีวภาพ หรือ EM

E.M. ย่อมาจากคำว่า Effective Micro-organisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพคิดค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรโอะ ฮิงะ (TEROU HIGA) แห่ง มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้เทคนิคทางชีวภาพ รวบรวมเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ หมวดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ช่วยปรับปรุงสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น จุลินทรีย์หมวดสร้างสรรค์ที่มีใน EM ได้แก่ กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง แลกโตบาซิลัส เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูซาเรียม สเตรปโตไมซิส อโซโตแบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์ รา ฯลฯ
จุลินทรีย์ใน EM ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ และมีพลัง “แอนติออกซิเดชั่น” ซึ่ง เป็นพลังสร้างสรรค์ของชีวิต ป้องกันมิให้มีการทำลายชีวภาพที่สำคัญของ เซลล์ได้ป้องกันฤทธิ์ของสารพิษได้หลายชนิด รักษาสภาพธรรมชาติของเซลล์ ได้มิให้เสื่อมสภาพรักษาสุขภาพของคนและสัตว์ มิให้เป็นโรคหรือเจ็บป่วยได้ง่าย

ลักษณะโดยทั่วไปของ EM
เป็นของเหลวสีน้ำตาลกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน (เกิดจากการทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์ต่าง ๆ ใน E.M.) เป็น กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีหรือ ยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช และแมลงที่เป็นประโยชน์ ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ ที่ทุกคนสามารถนำไปเพาะขยายเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง

ลักษณะการผลิต
เพาะขยายจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากกว่า 80 ชนิด จากกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
- กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติค
- กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน
- กลุ่มจุลินทรีย์แอคทีโนมัยซีทส์
- กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์
ซึ่ง เป็นจุลินทรีย์ที่ได้จากธรรมชาตินำมาเพาะเลี้ยงและขยายให้จุลินทรีย์ขยายตัว ด้วยปริมาณที่สมดุลกันด้วยเทคโนโลยีพิเศษ โดยใช้อาหารจากธรรมชาติ เช่น โปรตีน รำข้าว และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

ประโยชน์ของจุลินทรีย์โดยทั่วไป
ด้านการเกษตร
- ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ
- ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่าง ๆ
- ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศผ่านได้ดี
- ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ เพื่อให้เป็นปุ๋ย (อาหาร) แก่อาหารพืชดูดซึมไปเป็นอาหารได้ดี ไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
- ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช พืชให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น
- ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ เช่น ส่งออกต่างประเทศ
- ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ ไก่และสุกร ได้ภายในเวลา 24 ชม.
- ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์
- ช่วยกำจัดแมลงวัน โดยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวัน
- ช่วยป้องกันอหิวาห์และโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะและอื่น ๆ ได้
- ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรงมีความต้านทานโรคสูง ให้ผลผลิตสูงอัตราการตายต่ำ
ด้านกราประมง
- ช่วยควบคุมคุณภาพในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้
- ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำเป็นอันตรายต่อกุ้ง ปลา กบ หรือสัตว์น้ำที่เลี้ยงได้
- ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้
- ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ และทำให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมปุ๋ยหมักใช้พืชต่างๆ ได้อย่างดี
ด้านสิ่งแวดล้อม
- ช่วยปรับสภาพเศษอาหารจากครัวเรือน ให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อพืชผักได้
- ช่วยปรับสภาพน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน โรงงาน โรงแรมหรือแหล่งน้ำเสีย
- ช่วยดับกลิ่นเหม็นจากกองขยะที่หมักหมมมานานได้
ที่มาจาก ชานชาลาแห่งการเรียนรู้

อ่านต่อ

การปรับสภาพดินให้เหมาะกับเกษตรอินทรีย์(4)

การใช้ปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการนำเอาวัสดุอินทรีย์ที่เหลือทิ้งในไร่ นามาหมักรวมกันแล้วปรับสภาพให้เกิดการย่อยสลายโดยอาศัยกิจกรรมของจุลินทรีย์

การใช้ปุ๋ยหมักในแปลงเกษตรอินทรีย์มีประโยชน์หลายประการดังนี้
(1) เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้แก่ดินและเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้แก่พืช
(2) ช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน โดยธาตุอาหารพืชค่อยละลายออกมา
(3) ช่วยปรับโครงสร้างดิน โดยดินเหนียวจะมีความร่วนซุย และดินทรายมีการยึดเกาะกันมากขึ้น ทำให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำในสภาพที่เหมาะสมแก่พืช
(4) เป็นแหล่งอาหารแก่จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดินและช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น

การ ทำปุ๋ยหมักที่ปล่อยให้เกิดการย่อยสลายตามธรรมชาติใช้เวลานานอาจถึง 3 เดือน ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานต่างๆ ของทางราชการหลายหน่วยได้คิดค้นหัวเชื้อจุลินทรีย์ใช้เป็นตัวเร่งการย่อย สลาย เช่น กรมพัฒนาที่ดิน มีหัวเชื้อชื่อ “สารเร่ง พด.” หัวเชื้อจุลินทรีย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นต้น โดยหัวเชื้อนี้ประกอบด้วยจุลินทรีย์หลายชนิด ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และแอคติโนมัยซีส

หัวเชื้อที่เป็นตัวเร่งในการทำปุ๋ยหมัก มี 2 แบบ คือ
1) แบบแห้ง สามารถโรยใส่กองปุ๋ยหมักตามคำแนะนำข้างซอง
2) หัวเชื้อที่เป็นของเหลว ควรทำการขยายหัวเชื้อด้วยการเลี้ยงในกากน้ำตาลผสมน้ำอัตราส่วนกากน้ำตาล 1 ส่วนต่อน้ำ 20 ส่วนโดยใช้หัวเชื้อ 2 ลิตรใส่ในถังขยาย 100 ลิตร หมักทิ้งไว้ด้วยการให้อากาศผ่านปั้มลมประมาณ 4-5 วัน
เมื่อปุ๋ยหมักผ่านกระบวนการหมักจนได้ที่แล้ว การนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับพืชนั้นควรดูลักษณะของดินด้วย กรณี ที่ดินไม่มีความอุดมสมบูรณ์ขาดอินทรีย์วัตถุ แร่ธาตุอาหารน้อย ดังภาพ จะรวมกันเป็นก้อนแข็งไม่ร่วนซุย สีซีดจาง ดังนั้นควรใช้วิธีใส่ปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูกพืช อัตราส่วน 2 ตันต่อไร่ แล้วไถคลุกกับดินทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้มีการปลดปล่อยแร่ธาตุอาหารพืช หลังจากนั้นจึงค่อยปลูกพืช และมีการใส่ปุ๋ยหมักเป็นระยะๆ ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ (น้ำหมักชีวภาพ) ฉีดพ่นทางใบ วิธีนี้พืชจะตอบสนองต่อแร่ธาตุอาหารได้ดีและเจริญเติบโตดี

อ่านต่อ

การปรับสภาพดินให้เหมาะกับเกษตรอินทรีย์(3)

การใช้ปุ๋ยคอกในการปรับสภาพดิน
ปุ๋ยคอกเป็นแหล่งธาตุอาหารของพืชที่หาได้ง่ายและราคาถูก เนื่องจากเกษตรกรไทยส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปกับการปลูกพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยง โค กระบือ ไก่ เป็ด และสุกร ทำให้ได้มูลสัตว์เป็นจำนวนมาก เมื่อนำมาผ่านกระบวนการหมักแล้ว สามารถนำเอาไปใช้ในพื้นที่แปลงเกษตรกรได้ทันที ในปุ๋ยคอกมีจุลินทรีย์ อินทรีย์วัตถุ วิตามิน และฮอร์โมนพืชบางชนิด แต่เมื่ออินทรียวัตถุถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายแล้ว ทำให้ธาตุอาหารบางส่วนละลายไปกับน้ำและบางส่วนระเหยเป็นก๊าซ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ หรือไนโตรเจนเปลี่ยนอยู่ในรูปก๊าซแอมโมเนียที่มีกลิ่นฉุน ในปุ๋ยคอกแต่ละชนิดมีธาตุอาหารพืชไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์

ปริมาณธาตุอาหารหลักของพืชในปุ๋ยคอกแต่ละชนิด

ชนิดของปุ๋ยคอก ไนโตรเจน (%) ฟอสฟอรัส (%) โพแทสเซียม (%)

มูลโค 1.91 0.56 1.40

มูลกระบือ 1.23 0.69 1.66

มูลไก่ 3.77 1.89 1.76

มูลเป็ด 2.15 1.33 1.15

มูลสุกร 3.11 12.20 1.84

มูลค้างคาว 5.28 8.42 0.58

การ ใช้ปุ๋ยคอกมีข้อดี คือ เป็นวัสดุอินทรีย์ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น มีราคาถูก แต่การนำเอาปุ๋ยคอกไปใส่ให้กับต้นพืชโดยตรงอาจเป็นอันตรายแก่พืชได้ เนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นจากการหมักในดินและแรงดันออสโมติก เนื่องมาจากความเข้มของแร่ธาตุทำให้ต้นพืชสูญเสียน้ำทางราก และเหี่ยวเฉาตายในที่สุด ดังนั้นควรนำปุ๋ยคอกมาหมักให้เกิดการย่อยสลาย และไม่มีความร้อนหลงเหลืออยู่ นอกจากนี้ระหว่าง การหมักปุ๋ยคอกความร้อนที่เกิดขึ้นสูงถึง 70 องศาเซลเซียสจะช่วยกำจัดจุลินทรีย์ก่อโรคที่ติดมากับมูลสัตว์ได้อีกด้วย จึงเป็นการลดความเสี่ยงการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตผลการเกษตร โดยเฉพาะพวกผักสดต่างๆ ซึ่งมักประสบปัญหาเมื่อส่งออกแล้วตรวจพบเชื้อก่อโรคเกี่ยวกับระบบทางเดิน อาหาร ทำให้ต่างประเทศลดความน่าเชื่อถือ การใช้ปุ๋ยคอกและอินทรียวัตถุเพื่อปรับปรุงโครงสร้างดินอาจใช้ได้ตั้งแต่ 1 – 3 ตันต่อไร่ต่อครั้ง

อ่านต่อ

การปรับสภาพดินให้เหมาะกับเกษตรอินทรีย์(2)

การใช้ปุ๋ยพืชสดในการปรับสภาพดิน
ปุ๋ยพืชสดเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการไถกลบ หรือตัดสับต้นพืชลงในดินขณะที่กำลังมีการออกดอกเพราะมีธาตุอาหารสมบูรณ์และ ได้น้ำหนักสดมาก หลังจากนั้นปล่อยให้เกิดการย่อยสลายตามธรรมชาติ ก็จะได้ธาตุอาหารสำหรับพืชที่จะปลูกต่อไป ในการปลูกพืชสำหรับเป็นปุ๋ยพืชสดนิยมพืชตระกูลถั่วมากที่สุดเพราะ ปลูกง่าย โตเร็ว มีราก ใบ ลำต้นมากและมีการสลายตัวเร็ว ถั่วที่นิยมใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ ปอเทือง โสนอัฟริกัน โสนไต้หวัน โสนคางคก ถั่วที่ปกคลุมดินช่วยปราบวัชพืช ต้นและใบร่วงเป็นปุ๋ยบำรุงดิน เช่น ถั่วพร้า ถั่วลาย ถั่วอัญชัน เป็นต้น

การนำเอาพืชตระกูลถั่วมาเพาะปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดมีข้อพิจารณาดังนี้
(1)ลักษณะของดิน ต้องปรับให้เหมาะสม เช่น ถ้าดินเปรี้ยวควรใส่ปูน
(2)ฤดูกาล ที่เหมาะสมควรเป็นต้นฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม ก่อนการปลูกพืชหลักประมาณ 3 เดือน หรือปลายฤดูฝน หลังการเก็บเกี่ยวพืชหลัก โดยที่ดินยังมีความชื้นอยู่
(3)วิธีการปลูกมี 3 วิธี คือการโรยเมล็ดเป็นแถว หยอดเป็นหลุม และหว่าน ซึ่งควรไถดะก่อนหว่านเมล็ดแล้วคราดกลบ

การใช้ปุ๋ยพืชสดจะเป็นการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ แร่ธาตุและความอุดมสมบูรณ์แก่ดินในเวลารวดเร็ว

วิธีการใช้ปุ๋ยพืชสดทำได้ดังนี้
(1)การตัดสับและไถกลบควรทำในช่วงที่พืชมีธาตุไนโตรเจนและน้ำหนักสดสูงสุดเมื่อเริ่มออกดอกและบานเต็มที่
(2)การปลูกพืชปุ๋ยพืชสดในพื้นที่ขนาดใหญ่ใช้วิธีหว่านเมล็ดประมาณ 3 – 4 กิโลกรัมต่อไร่ และไถกลบก่อนปลูกพืชหลัก
(3)การปลูกแซมระหว่างร่องปลูกพืชหลักให้ปลูกเมื่อพืชหลักโตเต็มที่แล้วเพื่อป้องกันการแย่งธาตุอาหาร
(4)กรณีที่เกษตรกรมีพื้นที่ว่างเปล่าตามหัวไร่ปลายนาควรปลูกพืชปุ๋ยพืชสดแล้วตัดเอามาใส่ในแปลงปลูกพืชหลักและไถกลบ
ที่มาจาก http://hcsupply.blogspot.com/

อ่านต่อ

การปรับสภาพดินให้เหมาะกับเกษตรอินทรีย์(1)

การปรับปรุงดินเพื่อสร้างความสมดุลให้แก่ดินโดยมีสมบัติที่ดีทั้งด้าน เคมี กายภาพและทางชีวภาพ มีข้อพิจารณาดังนี้
สิ่งที่อนุญาตให้ใช้ปรับปรุงดิน
(1) ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากวัสดุในไร่นา เช่น ปุ๋ยหมักจากเศษพืช ฟางข้าว ขี้เลื่อยเปลือกไม้ เศษไม้ และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอื่นๆ
(2) ปุ๋ยคอกจากสัตว์ที่เลี้ยงตามธรรมชาติ ไม่ใช้อาหารจากสิ่งมีชีวิตที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรม (GMO) ไม่ใช้สารเร่งการเจริญเติบโต และไม่มีการทรมานสัตว์
(3) ปุ๋ยพืชสด เศษซากพืชและวัสดุเหลือใช้ในไร่นาในรูปอินทรีย์สาร
(4) ดินพรุที่ไม่เติมสารสังเคราะห์
(5) ปุ๋ยชีวภาพและจุลินทรีย์ที่พบทั่วไปตามธรรมชาติ
(6) ปุ๋ยอินทรีย์และสิ่งขับถ่ายจากไส้เดือนดินและแมลง
(7) ดินอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ
(8) ดินชั้นบน (หน้าดิน) ที่ปลอดจากการใช้สารเคมีมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี
(9) ผลิตภัณฑ์จากสาหร่ายและสาหร่ายทะเลที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ
(10) ปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ได้จากพืชและสัตว์
(11)อุจจาระและปัสสาวะที่ผ่านกระบวนการหมักมาแล้ว (ใช้ได้เฉพาะกับพืชที่ไม่เป็นอาหารของมนุษย์เท่านั้น)
(12)ของเหลวจากระบบน้ำโสโครกจากโรงงานที่ผ่านกระบวนการหมักโดยไม่เติมสารสังเคราะห์ และ ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ
(13) วัสดุที่เหลือใช้จากกระบวนการในโรงงานฆ่าสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานน้ำตาล โรงงานมันสำปะหลัง โรงงานน้ำปลา โดยกระบวนการเหล่านั้นต้องไม่เติมสารสังเคราะห์ และต้องได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ
(14) สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชหรือสัตว์ ซึ่งได้จากธรรมชาติ
(15)สา รอนินทรีย์ ได้แก่ หินบด หินฟอสเฟต หินปูนบด (ไม่เผาไฟ) ยิบซั่ม แคลเซียม ซิลิเกต แมกนีเซียมซัลเฟต แร่ดินเหนียว แร่เฟลด์สปาร์ แร่เพอร์ไลท์ ซีโอไลท์ เบนโทไนท์ หินโพแทส แคลเซียมจากสาหร่ายทะเล และสาหร่ายทะเล เปลือกหอย เถ้าถ่าน เปลือกไข่บด กระดูกป่น และเลือดแห้ง เกลือสินเธาว์ บอแรกซ์ กำมะถัน และธาตุอาหารเสริมสำหรับพืช เช่น โบรอน ทองแดง เหล็ก แมงกานีส โมลิบดินัมและสังกะสี

สิ่งที่ไม่อนุญาตให้ใช้ปรับปรุงดิน

(1) กากตะกอนจากแหล่งน้ำโสโครก (ห้ามใช้กับผัก)

(2) สารเร่งการเจริญเติบโต

(3) จุลินทรีย์และผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม

(4) สารพิษตามธรรมชาติ เช่น โลหะหนักต่างๆ

(5) ปุ๋ยเทศบาล หรือ ปุ๋ยหมักจากขยะในเมือง
ที่มาจาก

อ่านต่อ

คุณสมบัติของดิน

คุณสมบัติของดิน
การปรับปรุงคุณภาพดินให้มีความอุดมสมบูรณ์จึงจำเป็นต้องศึกษาคุณสมบัติของดินก่อนซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยคุณสมบัติ 3 ด้าน
(1) สมบัติทางเคมี คือดินต้องมีความสมดุลของแร่ธาตุอาหาร ประกอบด้วยธาตุอาหารหลักได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ธาตุอาหารรองได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน ธาตุอาหารเสริม ได้แก่ เหล็ก สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม แมงกานีส และคลอรีน โดยดินมีค่าความเป็นกรด-ด่างระหว่าง 6.5 – 7.0
(2) สมบัติทางกายภาพ คือดินต้องมีความสมดุลของอากาศ น้ำ กล่าวคือ ดินต้องมีโครงสร้างที่ดี ร่วนซุย อากาศถ่ายเทได้ดี มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดี เพื่อช่วยให้รากพืชสามารถแผ่ขยายและชอนไชไปหาแร่ธาตุอาหารได้ง่ายในระยะที่ กว้าง ไกล
(3) สมบัติทางชีวภาพ คือดินที่มีความสมดุลของสิ่งมีชีวิตในดิน ทั้งไส้เดือน และ จุลินทรีย์ซึ่งจะทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินให้อยู่ในรูปที่พืชนำ เอาไปใช้ประโยชน์ได้ จุลินทรีย์บางชนิดสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้เป็นประโยชน์แก่พืชได้ เช่น ไรโซเบียม นอกจากนี้ยังสร้างสารปฏิชีวนะช่วยป้องกัน กำจัดศัตรูพืชในดินได้อีกด้วย ส่วนที่เหลือ

อ่านต่อ

การเตรียมตัวก่อนทำเกษตรอินทรีย์

1.เตรียมใจให้เป็นเกษตรอินทีย์
2.ตั้งวัตถุประสงค์ในการทำ
3.วางแผนงานในการทำรวมทั้งทำบัญชีต่างๆ
4.ปรับสภาพดินให้พร้อม
5.ลงมือปลูกพร้อมทั้งศึกษาสังเกตุ ปรับปรุงเทคนิค รวมทั้งควบคุมกระบวนการเพื่อให้ได้ผลสำเร็จ
6.มีการสรุปผลเพื่อประเมินความสำเร็จ
นี่คือสิ่งที่ผมคิดไว้ครับ

อ่านต่อ

เกษตรอินทรีย์ดียังไง

ทำไมต้องเกษตรอินทรีย์
จากรายงานการสำรวจขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติเมื่อปี พ.ศ. 2543 พบว่าประเทศไทยมีเนื้อที่ทำการเกษตรอันดับที่ 48 ของโลก แต่ใช้ยาฆ่าแมลงอันดับ 5 ของโลก ใช้ยาฆ่าหญ้าอันดับ 4 ของโลก ใช้ฮอร์โมนอันดับที่ 4 ของโลก ประเทศไทยนำเข้าสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรเป็นเงินปีละกว่า 3 หมื่นล้านบาท เกษตรกรต้องซื้อปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์เพื่อใช้ในการ เพาะปลูก ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตทางตรงที่เกษตรกรต้องแบกรับ ส่งผลให้ต้องมีการลงทุนต่อไร่สูงและต้องใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาผลผลิตไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรขาดทุนเรื้อรัง มีหนี้สินล้นพ้นตัว ดังนั้น เกษตรอินทรีย์จะเป็นหนทางของการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้

การเกษตรสมัยใหม่ หรือเกษตรเชิงเดี่ยวก่อให้เกิดปัญหาทางการเกษตรมากมายดังนี้

1. ความอุดมสมบูรณ์ของดินถูกทำลายต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารในดิน
2. ต้องใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี จึงจะได้รับผลผลิตเท่าเดิม
3. เกิดปัญหาโรคและแมลงระบาด ทำให้เพิ่มความยุ่งยากในการป้องกันและกำจัด
4. แม่น้ำและทะเลสาบถูกปนเปื้อนด้วยสารเคมี และความเสื่อมโทรมของดิน
5. พบสารเคมีปนเปื้อนในผลผลิตเกินปริมาณเกณฑ์ที่กำหนด ทำให้เกิดภัยจากสารพิษสะสมในร่างกายของผู้บริโภค
6. เกิดความไม่สมดุลของระบบนิเวศ สภาพแวดล้อมถูกทำลายเสียหายจนยากจะเยียวยาให้กลับมาคืนดังเดิม

นอกจากนั้น การเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการเลี้ยงสัตว์จำนวนมากในพื้นที่จำกัด ทำให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย จึงต้องใช้ยาปฏิชีวนะจำนวนมาก และต่อเนื่องทำให้มีสารตกค้างในเนื้อสัตว์และไข่ ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคในระยะยาว โรควัวบ้าที่เกิดขึ้นจึงเป็นเสมือนสัญญาณอันตรายที่บอกให้รู้ว่า การเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรมไม่เพียงเป็นการทรมานสัตว์ แต่อาจเป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดของมนุษย์ด้วย

อ่านต่อ

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

เกษตรอินทรีย์

เกษตรอินทรีย์
คือระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมรักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายของทางชีวภาพโดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติและหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนต่าง ๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรมที่อาจเกิดมลพิษในสภาพแวดล้อม เน้นการใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และ ปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้างทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคและไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอีกด้วย

แนวคิดพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์ 
คือ การบริหารจัดการการผลิตทางการเกษตรแบบองค์รวม ซึ่งแตกต่างอย่างชัดเจนจากการเกษตรแผนใหม่ที่มุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิตชนิดใด ชนิดหนึ่งสูงสุด โดยการพัฒนาเทคนิคต่างๆ เกี่ยวกับการให้ธาตุอาหารพืชและป้องกันกำจัดสิ่งมีชีวิตอื่นที่อาจมีผลในการ ทำให้พืชที่ปลูกมีผลผลิตลดลง แนวคิดเช่นนี้เป็นแนวคิดแบบแยกส่วน เพราะแนวคิดนี้ตั้งอยู่บนฐานการมองว่า การเพาะปลูกไม่ได้สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ดังนั้นการเลือกชนิดและวิธีการใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆ มุ่งเฉพาะแต่การประเมินประสิทธิผลต่อพืชหลักที่ปลูก โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรการเกษตรหรือนิเวศการเกษตร สำหรับเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นการเกษตรแบบองค์รวมจะให้ความสำคัญกับการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน, การรักษาแหล่งน้ำให้สะอาด และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของฟาร์ม ทั้งนี้เพราะแนวทางเกษตรอินทรีย์อาศัยกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศในการทำ การผลิต ดังนั้นเกษตรอินทรีย์จะประสบความสำเร็จได้ เกษตรกรจำเป็นต้องเรียนรู้กลไกและกระบวนการของระบบนิเวศ 
จากเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เกษตรอินทรีย์จึงปฏิเสธการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี เนื่องจากสารเคมีการเกษตรเหล่านี้มีผลกระทบต่อกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศ นอกเหนือจากการปฏิเสธการใช้สารเคมีการเกษตรแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลของวงจรของธาตุอาหาร, การประหยัดพลังงาน, การอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตร และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งถือได้ว่าเกษตรอินทรีย์เป็นการบริหารจัดการฟาร์มเชิงบวก (positive management) และการจัดการเชิงบวกนี้เองที่ทำให้เกษตรอินทรีย์แตกต่างอย่างสำคัญจากการ เกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีแบบปล่อยปะละเลย (ที่มักอ้างว่า เป็นการเกษตรตามแบบธรรมชาติ) หรือเกษตรปลอดสารเคมีและเกษตรไร้สารพิษที่เฟื่องฟูในบ้านเรามานานหลายปี

เนื่อง จากเกษตรอินทรีย์เป็นการเกษตรที่ให้ความสำคัญกับการทำฟาร์มเชิง สร้างสรรค์ (เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศการเกษตรในไร่นา) ดังนั้นเกษตรกรที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยว กับธรรมชาติและการบริหารจัดการฟาร์มของตนเพิ่มขึ้นด้วย ผลที่ตามมาก็คือเกษตรอินทรีย์จึงเป็นแนวทางการเกษตรที่ตั้งอยู่บนกระบวนการ แห่งการเรียนรู้และภูมิปัญญา เพราะเกษตรกรต้องสังเกต, ศึกษา, วิเคราะห์-สังเคราะห์ และสรุปบทเรียนเกี่ยวกับการทำการเกษตรของฟาร์มตนเอง ซึ่งจะมีเงื่อนไขทั้งทางกายภาพ (เช่น ลักษณะของดิน ภูมิอากาศ และภูมินิเวศ) รวมถึงเศรษฐกิจ-สังคมที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น เพื่อคัดสรรและพัฒนาแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่เฉพาะและเหมาะสมกับฟาร์มของ ตัวเองอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญกับเกษตรกรผู้ผลิตและชุมชนท้องถิ่น เกษตรอินทรีย์มุ่งหวังที่จะสร้างความมั่นคงในการทำการเกษตรสำหรับเกษตรกร ตลอดจนอนุรักษ์และฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรกรรม วิถีการผลิตของเกษตรอินทรีย์เป็นวิถีการผลิตที่เกษตรกรต้องอ่อนน้อมและ เรียนรู้ในการดัดแปลงการผลิตของตนให้เข้ากับวิถีธรรมชาติ อาศัยกลไกธรรมชาติเพื่อทำการเกษตร ดังนั้นวิถีการผลิตเกษตรอินทรีย์จึงเป็นวิถีแห่งการเคารพและพึ่งพิงธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกลมกลืนกับวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรพื้นบ้านของสังคมไทย

แต่ ในขณะเดียวกัน เกษตรอินทรีย์ก็ไม่ได้ปฏิเสธการผลิตเพื่อการค้า เพราะตระหนักว่าครอบครัวเกษตรกรส่วนใหญ่จำเป็นต้องพึ่งพาการจำหน่ายผลผลิต เพื่อเป็นรายได้ในการดำรงชีพ ขบวนการเกษตรอินทรีย์พยายามส่งเสริมการทำการตลาดผลผลิตเกษตรอินทรีย์ทั้งใน ระดับท้องถิ่น ประเทศ และระหว่างประเทศ โดยการตลาดท้องถิ่นอาจมีรูปแบบที่หลากหลายตามแต่เงื่อนไขทางสภาพเศรษฐกิจและ สังคมของท้องถิ่นนั้น เช่น ระบบชุมชนสนับสนุนการเกษตร (Community Support Super Mai Agriculture - CSSMA) หรือระบบอื่นๆ ซึ่งมาจากปะเทศใดในโลก ที่มีหลักการในลักษณะเดียวกัน ส่วนตลาดที่ห่างไกลออกไปจากผู้ผลิต ขบวนการเกษตรอินทรีย์ได้พยายามพัฒนามาตรฐานการผลิตและระบบการตรวจสอบรับรอง ที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้ว่า ทุกขั้นตอนของการผลิต แปรรูป และการจัดการนั้นเป็นการทำงานที่พยายามอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรักษาคุณภาพของผลผลิตให้เป็นธรรมชาติเดิมมากที่สุด


โดย สรุปจะเห็นว่า เกษตรอินทรีย์เป็นระบบเกษตรที่มีลักษณะเป็นองค์รวม ที่ให้ความสำคัญในเบื้องต้นกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศการเกษตร และทรัพยากรธรรมชาติ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ละเลยมิติด้านสังคมและเศรษฐกิจ เพราะความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมไม่อาจดำรงอยู่ได้ โดยแยกออกจากความยั่งยืนทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร

อ่านต่อ