วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

หลักการจัดการและการปรับปรุงบำรุงดิน

การจัดการดินในทุกขั้นตอนต้องมุ้งเน้นการใช้สารอินทรีย์และวัสดุธรรมชาติ เป็นหลัก โดยสิ่งเหล่านี้ต้องปราศจากการปนเปื้อนของวัสดุต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ ในกรณี ที่จำเป็นต้องใช้สารที่ไม่แน่ใจว่าเป็นสารต้องห้ามหรือไม่ ให้ตรวจสอบในบัญชีรายชื่อสารที่อนุญาตให้ใช้และไม่อนุญาตให้ใช้และข้อกำจัด ของสารนั้น ๆ เสียก่อน
หลักปฏิบัติในการจัดการดิน
* เลือกพื้นที่ปลูก ควรเลือกพื้นที่ที่มี ความอุดมสมบูรณ์สูง เช่น พื้นที่ที่เปิดใหม่ หากจำเป็นต้องใช้พื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ต้องมีการจัดการธาตุอาหารพืชและ
ปรับปรุงบำรุงดินมากกว่าพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง
* ดินที่เป็นกรดจัด ให้ใส่หินปูนกดปรับความเป็นกรดของดินก่อน (ถ้าต้องการเพิ่มธาตุแมกนีเซียมด้วยให้ใส่ปูนโดโลไมท์)
* ควร ปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น โสน ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ ฯลฯ และไถกลบเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน โดยเลือกชนิดของพืชตามความเหมาะสมของพื้นที่ เช่น โสน ใช้ได้ดี
ในสภาพนา ถั่วพุ่มใช้ได้ดีในสภาพไร่ เป็นต้น
* ปลูกพืชหมุนเวียน ใช้พืชตระกูลถั่วร่วมเป็นพืชหมุนเวียน
* ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษซากพืช เพื่อเป็นแหล่งธาตุอาหารพืชและปรับปรุงโครงสร้างของดิน
* กรณีที่ดินขาดโพแทสเซียม ให้ใช้ปุ๋ยมูลค้างคาว เกลือ แทสเซียมธรรมชาติ และขี้เถ้าถ่าน
* กรณีที่ดินขาดฟอสฟอรัส ให้ใช้ปุ๋ยหินหอสเฟต
* ถ้า การใส่ปุ๋ยที่กำหนดไว้ไม่สามารถให้ธาตุอาหารได้เพียงพอกับความต้องการของพืช อาจจะใช้ธาตุอาหารเสริมที่มีการพิสูจน์เป็นหลักฐานทางเอกสารไว้แล้วได้

ข้อมูลโดย : โครงการเกษตรอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น